สหกรณ์
สาระสำคัญ สหกรณ์ใช้หลักความสมัครใจ และการพึ่งตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักประชาธิปไตย
ผลการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา หลักการ วิธีการของระบบสหกรณ์ รู้จักสนับสนุนและส่งเสริมการ
สหกรณ์เต็มความสามารถของตน
พฤติกรรมชี้วัด 1. บอกความหมาย ประเภท ระบบการทำงาน และหลักการของสหกรณ์ได้
2. บอกข้อดีข้อเสียของระบบสหกรณ์ได้
3. สร้างคุณลักษณะ / ปฏิบัติตนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้
1. ความหมายและประเภทของสหกรณ์
สหกรณ์ (cooperative หรือ co-op) คือ องค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มบุคคลเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของสมาชิกที่เป็นเจ้าของร่วมกัน
องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ หรือไอซีเอ (Internation Cooperative Alliance : ICA ) ให้ความหมายของสหกรณ์ไว้ว่า สหกรณ์ คือ องค์การของบรรดาบุคคล ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
จากความหมายที่ยกมานี้ สามารถสรุปลักษณะสำคัญของสหกรณ์ ได้ดังนี้
1. สหกรณ์เป็นองค์กรของกลุ่มบุคคล มิใช่ของคนใดคนหนึ่ง
2. การรวมกลุ่มหรือการเป็นสมาชิกสหกรณ์ต้องเป็นไปโดยสมัครใจ

4. การควมคุมการดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตย
5. กิจการของสหกรณ์มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนองความต้องการและความหวังร่วมกันของสมาชิก ในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
โดยทั่วไปสามารถแบ่งสหกรณ์ออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ สหกรณ์ผู้บริโภค สหกรณ์บริการ หรือ สินเชื่อ และ
สหกรณ์ผู้ผลิต
สหกรณ์ผู้ผลิต - สมาชิกรวมกลุ่มเพื่อซื้อสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายโสหุ้ยที่เกิดขึ้น ผลประโยชน์ที่สมาชิก
ได้รับคือ ราคาสินค้าที่ไม่ผันผวนตามระบบเศรษฐกิจ
สหกรณ์บริการ - ส่วนใหญ่เป็นการให้บริการสินเชื่อ สมาชิกสามารถกู้ยืมเงินจากสหกรณ์โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบัน
การเงินอื่น
สหกรณ์ผู้ผลิต - สนับสนุนการขายผลผลิต หรือสินค้าที่สมาชิกนำออกจำหน่าย โดยการรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง และ
จำหน่ายตรงให้ผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งสหกรณ์ในประเทศไทยเป็น 6 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ และสหกรณ์ออมทรัพย์